เงินทดรองราชการ
การจ่ายเงินทดรองราชการ
รับสัญญายืมเงินจากกลุ่มงบประมาณ กองคลัง ตรวจสอบความถูกต้องของสัญญายืมเงินและหลักฐาน ประกอบการยืมเงิน เสนอผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติสัญญายืมเงิน วงเงินไม่เกิน 500,000.00 บาท ผู้อำนวยการกลุ่มการเงินอนุมัติสัญญายืมเงินปฏิบัติแทนผู้อำนวยการกองคลัง วงเงินเกิน 500,000.00 บาท ผู้อำนวยการกองคลังอนุมัติสัญญายืมเงิน บันทึกสัญญายืมเงินในทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืมราชการ
ตรวจสอบสัญญายืมเงินที่ไม่มีหนี้เพื่อดำเนินการจ่ายเงินจากเงินทดรองราชการ ผ่านระบบ KTB Corporate Online และจัดส่งเอกสารสัญญายืมเงินให้กลุ่มพัฒนาระบบงานคลัง กองคลังดำเนินการเบิกเงินในระบบ New GFMIS Thai เพื่อชดใช้เงินทดรองราชการ สำหรับในกรณีที่ยืมเงินราชการโดยใช้บัตรเครดิตราชการต้องดำเนินการเปิดวงเงินในบัตรเครดิตราชการโดยเสนอผู้อำนวยการกองคลัง ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นผู้อนุมัติวงเงินในบัตรเครดิตราชการแล้วจัดส่งเอกสารให้กับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินการเปิดวงเงินในบัตรเครดิตราชการ
รับเอกสารส่งใช้ใบสำคัญ จากลูกหนี้เงินยืม เพื่อบันทึกรายการล้างลูกหนี้เงินยืมราชการ ในระบบ New GFMIS Thai และบันทึกรายการนำเงินส่งคลัง กรณีมีเงินคืนในระบบ KTB Corporate Online พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงิน และบันทึกรายการในระบบโปรแกรมควบคุมการใช้จ่ายเงินกองคลัง
จัดส่งเอกสารใบสำคัญส่งใช้เงินยืมราชการให้กับกลุ่มตรวจสอบใบสำคัญ กองคลัง เพื่อดำเนินการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญส่งใช้เงินยืม
รับเอกสารใบสำคัญส่งใช่เงินยืมราชการจากกลุ่มตรวจสอบใบสำคัญ กองคลัง อนุมัติรายการจ่ายเงินในกรณีวงเงินไม่เกิน 5000,000.00 บาท ผู้อำนวยการกลุ่มการเงิน ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยกากรองคลัง อนุมัติรายการในใบสำคัญส่งใช้เงินยืมราชการ กรณีวงเงินเกิน 500,000.00 บาท ผู้อำนวยการกองคลัง อนุมัติรายการในใบสำคัญส่งใช่เงินยืมราชการ
จัดส่งเอกสารใบสำคัญส่งใช่เงินยืมราชการให้กลุ่มบัญชี กองคลัง เพื่อจัดเก็บเอกสารใบสำคัญส่งใช้เงินยืมราชการ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยืม

ผู้มีสิทธิยืมเงินคือข้าราชการ, ลูกจ้างประจำ, พนักงานราชการของส่วนราชการผู้ให้ยืมที่ได้รับอนุมัติ ให้ปฏิบัติราชการจากผู้บังคับบัญชา

การยืมเงินไปเพื่อการใดให้ใช้เงินยืมเพื่อการนั้น

ผู้ยืมเงินจะต้องไม่มีหนี้สินค้างชำระ

ผู้ยืมเงินจะต้องเป็นผู้ร่วมเดินทางไปด้วย

ผู้ยืมจะต้องส่งใบสำคัญคู่จ่ายพร้อมเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ดังนี้
1.กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักหรือการเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ หรือกรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ยืมโดยทางไปรษณีย์ลง ทะเบียนหรือธนาณัติแล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเงิน
2.กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายใน 15 วันนับจากวันกลับ
3.การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจาก 1 หรือ 2 ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืม ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเงิน